องค์ความรู้ด้านดนตรีไทยกำลังได้รับความสนใจจากเด็กรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น เพราะนอกจากเพื่อการอนุรักษ์แล้ว ยังสามารถนำดนตรีไทยไปสร้างอาชีพ ทำธุรกิจและมีโอกาสเติบโตในอุตสาหกรรมดนตรีที่เกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะการสร้างเครื่องดนตรีไทย ซึ่งปัจจุบันมีการเรียนการสอนน้อยมาก วันนี้เราจะพาไปดูสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญ ต่อการเรียนการสอนดนตรีไทยแบบครบวงจร มีทุนการศึกษารองรับ เพื่อให้เด็กมีความรู้ด้านดนตรีไทย ตั้งแต่ระดับ ปวช.เพื่อสร้างมืออาชีพด้านดนตรีไทย
สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย หรือ Thai Instrument Craftsman Course แผนกวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศ ด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้จัดการเรียนการสอน สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทยในระดับปวช. ถือเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกด้านทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรีไทย
สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย จัดเป็นหลักสูตรที่เน้นฝึกทักษะด้านการผลิต ซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีไทย เน้นการฝึกปฏิบัติเป็นหลัก ตามแนวทาง “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” โดยในหลักสูตรมีการสอนตั้งแต่การเขียนแบบภาพร่างเครื่องดนตรีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงาน ศึกษาคุณสมบัติของเสียง ระดับเสียง การปรับเสียง หลักการและแนวคิดเรื่องการสร้างเครื่องดนตรี ฝึกทักษะด้านการใช้เครื่องมือช่างงานไม้ ฯลฯ
วิชาที่มีการสอน หลัก ๆ ได้แก่
-วิวัฒนาการ ทฤษฎี และงานช่างเครื่องดนตรีไทย
-การเขียนแบบภาพร่างและโครงสร้างเครื่องดนตรีไทย
-งานปรับแต่งอุปกรณ์และเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทย
-คอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบเครื่องดนตรีไทย
-การบรรเลงดนตรีไทย
-กฎหมายเกี่ยวกับการสร้างเครื่องดนตรีไทย
-การออกแบบบรรจุภัณฑ์
-การทำสีเครื่องดนตรีไทย
-ความคิดสร้างสรรค์
-ภาษาอังกฤษเพื่อดนตรีไทย
-การทำหุ่นจำลองเครื่องดนตรีไทย
-งานสร้างเครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาด ซอ กลอง ขลุ่ย ฆ้อง จะเข้ เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ที่สนใจเข้าศึกษา ระดับปวช. สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย
-รับนักเรียนที่เรียนจบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
-เป็นผู้ที่มีความสนใจ มีใจรักเกี่ยวกับดนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประเภทต่าง ๆ อาทิ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย จะเข้ ขลุ่ย ปี่ เครื่องหนังหรือการขับร้อง รวมถึงงานช่างดนตรีไทย หากมีประสบการณ์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
-นักเรียนที่ผ่านการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ จะมีการพิจารณาจากความยากลำบาก ขาดแคลนทุนทรัพย์ และต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี จะได้รับการพิจารณาให้ทุนการศึกษา(เป็นรายกรณี)
การประกอบอาชีพเมื่อเรียนจบของสาขานี้ สามารถทำงานได้หลายด้าน เช่น
ช่างสร้างเครื่องดนตรีไทย
ช่างประดับตกแต่งเครื่องดนตรีไทย
ช่างซ่อม บำรุง ปรับแต่งเสียงเครื่องดนตรีไทย
นักดนตรีไทย
ช่างทำสีเครื่องดนตรีไทย
ผู้ประกอบการด้านการจำหน่ายเครื่องดนตรีไทย
ครูสอนดนตรีไทย
นักวิชาการด้านดนตรีไทย
นักแสดงดนตรี
ธุรกิจส่วนตัวด้านดนตรี เช่น โรงเรียนสอนดนตรีไทย ทำงานในองค์กรของรัฐและเอกชนในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
เป็นเจ้าของกิจการโรงงานผลิตเครื่องดนตรี
รับราชการ เช่น ดุริยางค์ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ หรือกรมศิลปากร
ศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นเกี่ยวกับด้านดนตรีได้ และเป็นนักวิจัยด้านดนตรีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่รองรับความต้องการของโลกในอนาคต
ตัวอย่างการอบรบเชิงปฏิบัติการ “การทำไม้ระนาดเอกตามแนวทางครูพริ้ง ดนตรีรส“

“การทำยางสน” สำหรับเครื่องดนตรีไทย

ดูรายละเอียดจาก สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย (Thai Instrument Craftsman Course) แผนกวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี
โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
หรือเพจสาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทยThai Instrument Craftsman Course at CDTI